เรียบเรียงโดย พ.ท.หญิง พรพิมล รักอาชีพ
ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อชีวิต ทุกคนต้องการให้ดวงตาอยู่คู่กับเราไปตลอดชีวิต
ฉะนั้นการดูแลรักษาดวงตาจึงมีความสำคัญควรดูแลตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูง อายุดังนี้
วัยแรกเกิด ต้องระวังทารกแรกเกิดจากเชื้อหนองในซึ่งเป็นกามโรคชนิดหนึ่ง ทารกจะได้รับเชื้อโรคขณะคลอด
ผ่านช่องคลอดของมารดาออกมา พออายุ 2 - 3 วัน จะมีตาบวมแดง มีหนองข้นที่ตา ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา
ทารกจะตาบอดเพราะเชื้อโรคทำลายตาดำให้เป็นแผลทะลุ โรคนี้สามารถป้องกันได้ โดย ขณะมารดาตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์กับแพทย์
ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ตกขาวมาก ปัสสาวะแสบ ต้องบอกให้แพทย์ทราบเพื่อหาทางรักษา ที่สำคัญคุณพ่อต้องไม่ไปหาโรค
มาให้คุณแม่ โดยทั่วไปเมื่อทารกคลอดใหม่ ๆ แพทย์ พยาบาลจะหยอดตาป้องกันเชื้อโรคหนองในทุกคน สำหรับทารกแรกเกิด
ที่คลอดก่อนกำหนดมากมักพบปัญหาทางด้านสายตาได้บ่อย ก็ควรจะมีการตรวจตา โดยจักษุแพทย์ผู้ชำนาญเป็นประจำ
ตามที่แพทย์แนะนำใน ช่วง 6 เดือน ถึง ขวบปีแรกๆ แม้ว่าการตรวจตาในครั้งแรกจะไม่พบความผิดปกติ
วัยก่อนเรียน เด็กควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เพื่อป้องกันปัญหาทางดวงตาที่อาจเกิดจากการขาดอาหารโดยเฉพาะโปรตีน
และ วิตามินเอ ทำให้เด็กตาแห้ง ตาดำด้านไม่เป็นเงา ตาดำเปื่อยเป็นแผลอาจทะลุตาบอดได้สาเหตุการขาดอาหารโปรตีน วิตามินเอ
เนื่องจากการเลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานแทนนมแม่ หรือ เป็นที่ตัวเด็กเอง กินแล้วไม่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เช่น ท้องเดิน ท้องเสีย มีไข้
เป็นหัด ทำให้ร่างกายต้องการสารอาหารมากกว่าปกติ นอกจากนี้ เด็กทุกคนควรได้รับอาหารเสริมเมื่ออายุ 6 เดือนด้วย เช่น ไก่ ไข่
เนื้อสัตว์ ตับ ผักสีเขียวฟักทอง มะละกอสุก
อันตรายอีกอย่างในวัยนี้คือการได้รับอุบัติเหตุบริเวณดวงตา เนื่องจากเด็กวัยนี้มักซุกซนอยากรู้อยากเห็น ถ้าขาดผู้ใหญ่ดูแลใกล้ชิด
เด็กไปเล่นของมีคม หรือไปแหย่สัตว์เลี้ยงเช่น นก ไก่ อาจถูกของมีคมทิ่มตา หรืออาจถูกสัตว์เลี้ยงจิกตาได้ การสังเกตพัฒนาการ
ของลูกก็เป็นสิ่งสำคัญ คุณพ่อคุณแม่ต้องดูว่าลูกมีปัญหาเรื่องสายตาและการมองเห็นหรือเปล่า โดยดูจากสัญญาณเตือนเหล่านี้เช่น
ตาเข ตาเหล่/ชอบเอียงศีรษะ ไปด้านใด ด้านหนึ่ง/มีน้ำตาไหลเอ่อ ตลอด หรือมีการติดเชื้อ ของตาบ่อยๆ/มีแก้วตา หรือ เลนส์ตา ขุ่น
ตาแดง หนังตาบวม หรือ ลูกตา ดูใหญ่ผิดปกติ/หนังตาตก ปิดได้ไม่เท่ากัน เป็นต้น ควรพบจักษุแพทย์
วัยเรียน วัยรุ่น ควรระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดต่อดวงตา ที่พบมากคือการที่ตาถูกกระทบกระเทือนจากการเล่น อุบัติเหตุจาก
การทำงาน นอกจากนี้ ในวัยนี้ยังพบเด็กมีสายตามัวจากสายตาสั้นได้บ่อย แม้ว่าสายตาสั้นจะไม่ทำให้ตาบอดได้ แต่ทำความกังวล
ให้กับเด็กและพ่อแม่ การแก้ไขสายตาสั้นคือการสวมแว่นสายตาที่เหมาะสมปัจจุบันได้มีการพิสูจน์แล้ว ว่าสายตาสั้น หรือ สายตายาว
เป็นลักษณะที่กำหนดตายตัวมาแล้วตั้งแต่อยู่ในท้องแม่การใช้สายตาดู หนังสือภายใต้หลอดไฟนีออนการดูโทรทัศน์ ไม่มีส่วนทำให้
สายตาสั้นหรือสายตายาว ช่วงวัยนี้พ่อ แม่ สามารถสังเกตหรือสอบถามลูกถึงอาการผิดปกติได้ เช่น บางครั้งลูกอาจมีอาการปวดศีรษะ
บ่อยๆ/มองเห็นภาพไม่ชัด มองเห็นภาพซ้อน /มีพฤติกรรม เปลี่ยนไป หรือ การเรียนแย่ลง/ชอบหยีตา เขม่นตา หรือเข้าไป ดูใกล้ๆ
( ก้มหน้า อ่านหนังสือ จนชิดโต๊ะ ฯลฯ) หรือไม่สามารถ บอกสี ได้ถูกต้อง แยกของที่มีสีต่างๆได้ไม่ดีนัก (ตาบอดสี) ควรพาลูกไป
พบจักษุแพทย์
วัยกลางคน บุคคลในวัยนี้ สายตาเริ่มเปลี่ยน การมองเห็นที่ระยะใกล้จะไม่ชัดเหมือนเดิม การตรวจสายตามักจะพบสายตายาว
ควรตัดแว่นตาสวมใส่
วัยชรา โรคทางตาหลายอย่างเริ่มเบียดเบียน เช่น ต้อกระจก ตาเสื่อมจากเบาหวาน ต้อหิน ม่านตาอักเสบ ประสาทตาลอก
ศูนย์กลางประสาทตาเสื่อม ฉะนั้นควรให้พบแพทย์ตรวจเช็คสุขภาพของตาทุกปี ถ้าพบความผิดปกติแพทย์จะได้รักษาได้ทันก่อนที่จะ
เสียดวงตาไป
วิธีการถนอมดวงตา
เอกสารอ้างอิง