การทำ GCP จำเป็นหรือไม่ ? สำหรับการทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศจาก Drone และ UAV

Ground Control Point (GCP) คือจุดที่ใช้ในการปรับแก้และตรึงภาพถ่ายให้มีความถูกต้องทางตำแหน่งมากขึ้น จุดควบคุมภาคพื้นดินจะต้องเป็นจุดที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนบนภาพถ่าย เช่น รอยตัดถนน หรือการวางแผ่นเป้าแบบขาว-ดำด้วยตัวเอง โดยวางกระจายตัวให้ทั่วบริเวณบินถ่ายภาพ จากนั้นเก็บค่าพิกัด ซึ่งวิธีที่ได้รับความนิยม คือวิธีการเก็บพิกัดโดยใช้เครื่องรับสัญญาณ GNSS แบบ Real time Kinematic (RTK) สามารถให้ค่าพิกัดที่มีความแม่นยำสูงระดับเซนติเมตร โดยใช้เวลาในการรังวัดต่อจุดเพียงไม่กี่นาที จากนั้นนำมาประมวลผลในโปรแกรมเพื่อให้ภาพที่ได้มีความถูกต้องทางตำแหน่งมากยิ่งขึ้น
มีวิธีการอื่นหรือไม่ที่ผู้ใช้งานไม่ต้องทำ GCP แต่ยังคงได้ภาพถ่ายทางอากาศที่มีความถูกต้องทางตำแหน่งในระดับเซนติเมตร ? คำตอบคือ “การทำแบบ Post Processed Kinematic - PPK” ซึ่งระบบ PPK ต้องใช้ควบคู่กับโดรนหรือ UAV ที่มีตัวรับสัญญาณ GNSS (GNSS receiver) ติดตั้งอยู่กับตัวเครื่อง หลักการทำงานคือขณะที่เครื่องบินสำรวจ จะมีการบันทึกข้อมูล GNSS (GNSS log file) เมื่อบินเสร็จแล้วผู้ใช้งานเพียงนำ GNSS log file ไปประมวลผลร่วมกับ log file ที่ดาวน์โหลดจาก Base station จากการตั้งเครื่องรับสัญญาณ GNSS บนหมุดระดับ ณ ตำแหน่งที่ทราบค่า หรือ GNSS network ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งวิธีการนี้สะดวกรวดเร็วกว่าการวางเป้าจุด GCP (Ground Control Point) และวิธีการทำ PPK ยังสามารถสำรวจในพื้นที่ที่ไม่สามารถวางเป้า GCP ได้     
ซึ่งหากผู้ใช้งานกำลังประสบปัญหากับการวาง GCP และมองหา UAV ที่มีระบบ PPK ความแม่นยำสูง ทางบริษัทมี UAV สำหรับการทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศขึ้น-ลงแบบแนวดิ่ง (VTOL UAV) รุ่น WingtraOne GenII ที่มีระบบ PPK และสามารถเลือก Payload ที่เหมาะสมกับรูปแบบงานต่าง ๆ ได้อีกด้วยไม่ว่าจะเป็น กล้อง RGB, LiDAR, Oblique, RedEdge ฯลฯ