ความสำคัญของ Scale Factor ในงานสำรวจ

เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมบางทีวัดระยะทางด้วยกล้อง Total Station แล้วระยะขาดหรือเกินไปจากแบบ ทั้งที่เพิ่งนำกล้องเข้าศูนย์บริการเพื่อทำการ Calibration ยิ่งระยะทางยิ่งไกลยิ่งเห็นผลต่างมาก 
เนื่องจากโลกของเรานั้นมีลักษณะเป็นทรงกลมแบบเสฟียรอยด์ หากต้องการให้แผนที่ของโลกแสดงแบบแบน ต้องใช้เส้นโครงแผนที่ (Map projection) เข้ามาช่วย
ซึ่งประเทศไทยอยู่ใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตร จะใช้เส้นโครงแผนที่แบบกระบอก (Cylindrical Projection) และแบบ Mercator วิธีการนี้จะได้เส้นโครงแผนที่ที่มีเส้นขนานและเส้นเมริเดียนที่ตัดกันเป็นมุมฉาก มีทิศทางและรูปร่างถูกต้อง โดยพื้นที่ที่อยู่ใกล้จุดสัมผัสจะมีค่าความถูกต้องมาก แต่ถ้ายิ่งห่างจากจุดสัมผัสความบิดเบี้ยวจะเพิ่มขึ้น
การที่เราทราบค่า Scale Factor ที่แน่นอนถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการทำงานสำรวจทางด้านภูมิศาสตร์และการรังวัด โดยเฉพาะเมื่อทำการคำนวณและแปลงข้อมูลจากระบบพิกัดแบบพื้นที่ราบ ไปเป็นระบบพิกัดเชิงทรงกลม หรือกลับกัน เพื่อให้ได้ค่าพิกัดที่มีความถูกต้องแม่นยำ อีกทั้งแก้ไขความแตกต่างระหว่างระยะทางที่วัดได้ในสภาพภูมิประเทศจริงและระยะทางที่แสดงบนแผนที่หรือระบบพิกัดราบ
Scale Factor มี 3 ประเภท
1. Grid Scale Factor (GSF) เป็นค่าที่ใช้ในการปรับระยะทางที่วัดได้บนพื้นโลกให้เข้ากับระยะทางบนระบบพิกัดที่แปลงเป็นแบบแบน (projection) เช่น UTM (Universal Transverse Mercator) เนื่องจากแผนที่แบบแบนไม่สามารถแสดงระยะทางบนโลกโค้งได้อย่างถูกต้องโดยตรง จึงต้องใช้ GSF เพื่อคำนวณระยะทางที่ถูกต้อง
2. Elevation Scale Factor (ESF) ปัจจัยนี้ใช้ในการปรับระยะทางที่วัดได้จากระดับสูงหรือความสูงของพื้นที่ต่างๆ โดยคำนึงถึงระดับความสูงที่แตกต่างกัน 3.Combined Scale Factor (CSF) เป็นการรวมระหว่าง GSF และ ESF โดย CSF จะใช้ในการคำนวณเมื่อมีการรังวัดระยะทางที่ต้องการความแม่นยำสูงมาก เช่นในงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การติดตั้งท่อ หรือการรังวัดเส้นทางรถไฟ
 การคำนวณ Scale factor สามารถทำได้อย่างง่ายดายผ่านซอฟต์แวร์สำรวจสมัยใหม่ เช่น Trimble Business Center โดยซอฟต์แวร์จะคำนวณและปรับค่า GSF และ ESF ให้สอดคล้องกับข้อมูลที่นำเข้ามา ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถคำนวณระยะทางและพิกัดที่แม่นยำได้ในระยะเวลาอันสั้น