แนวทางสมานฉันท์

แนวทางสมานฉันท์

    ล่วงสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา กระแสโลกาภิวัฒน์ทางเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแลกเปลี่ยนทาง
วัฒนธรรมก็มีมากขึ้น ในกระบวนการปรับเปลี่ยนรูปแบบสังคมทางประวัติศาสตร์ การสืบค้นมรดกทางปรัชญาที่ถ่ายทอด
กันมา ผลักดันให้เกิดแนวคิดทฤษฎีใหม่ๆ มากมาย และเพื่ออบรมบ่มความคิดวิญญูชน จึงได้จัดพิมพ์หนังสือ “แนวทาง
สมานฉันท์” เล่มนี้ขึ้น

    มรรคแห่งความสมานฉันท์เป็นแนวคิดหลักและเป็นจิตวิญญาณดั้งเดิมของวัฒนธรรมอันเป็นมรดกตกทอดของจีน
เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการตั้งรกรากและการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์มนุษย์

    ความสมานฉันท์ หมายถึง การประกอบเข้ากันอย่างกลมกลืนของสิ่งที่มีความแตกต่างกันอย่างเป็นขั้นตอน ในแต่ละส่วน
แม้มีความแตกต่างกันแต่ก็เข้ากันเป็นหนึ่งเดียวอย่างกลมกลืน

    การเหมือนกันกับผู้อื่นไปเสียทุกอย่างไม่ใช่ความสมานฉันท์ การปฏิบัติตามอำเภอใจโดยเข้ากับผู้อื่นไม่ได้สักอย่างก็ไม่ใช่ความสมานฉันท์เช่นเดียวกัน หากแต่เป็นการที่สามารถอยู่เหนือความสุดขั้วของทั้งสองดังกล่าว และวางตัวอย่างถูกต้องเหมาะสม
โดยยังคงรักษาไว้ซึ่งความเป็นปัจเจกแห่งตน ทั้งสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสมบูรณ์เท่านั้นจึงเรียกว่าความสมานฉันท์

    ในระดับประเทศ ความสมานฉันท์นั้นหมายถึงการยอมรับและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ระหว่างชนชั้นทางสังคมที่ต่างกัน มีการแบ่งงานกันทำโดยต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มความสามารถ
 
    ยุคสมัยที่เต็มไปด้วยการแข่งขันอย่างเช่นปัจจุบัน และเป็นยุคที่จำเป็นต้องเรียนรู้การร่วมมือกัน ผู้ที่ประสบความสำเร็จล้วนทราบดีว่า สัมพันธภาพที่ดีและการร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเงื่อนไขในการได้มาซึ่งความสำเร็จ
 
    ความร่วมมือหมายความว่า เรามีความสามารถในการเข้ากับผู้อื่นได้อย่างสนิทสนมกลมกลืน จากประสบการณ์บอกเราว่า
เมื่อเราคว้าโอกาสในการคบหาสมาคมได้ก่อน และได้การสนับสนุนจากผู้อื่นแล้ว ความสำเร็จก็จะอยู่เบื้องหน้า
 
    ชีวิตแห่งความสมานฉันท์ยังเป็นมาตรฐานที่สำคัญในการวัดความสุขของคนๆ หนึ่งด้วย ช่วงชีวิต 100 ปีนั้นผ่านไปอย่างรวดเร็ว และมีเพียงครั้งเดียว ไม่มีทางหวนกลับและไม่มีทางเริ่มใหม่ได้ เราทุกคนล้วนต้องการความรู้สึกที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม มิเช่นนั้น ชีวิตก็จะเป็นไปอย่างโดดเดี่ยว หาความสุขได้ยาก
 
    ในความเป็นจริงแล้ว ความสมานฉันท์ดำรงอยู่ในประวัติศาสตร์ของเราเสมอมา ดำรงอยู่ในประสบการณ์ทางภูมิปัญญาที่
ชนรุ่นก่อนทิ้งไว้ให้ ท่านเม่งจื๊อเคยกล่าวไว้ว่า “เงื่อนไขฟ้าหาสู้ดินไม่ เงื่อนไขของดินหาสู้บุคคลผู้สมานฉันท์ไม่” บุคคล
ผู้สมานฉันท์ที่ว่านั้นหมายถึงบุคคลผู้มีจิตใจที่หล่อหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว และอยู่กันอย่างสมานฉันท์กลมกลืน

    ความสมานฉันท์มีหลักและกฎในตัวเอง ซึ่งก็คือคำว่า “เต๋า” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วิถีแห่งธรรมชาติ” นั่นเอง วิถีแห่ง
ความสมานฉันท์ก็คือ กฎแห่งการก่อเกิดและการโคจรของความสมานฉันท์ เมื่อคุณข้าถึงกฎนี้แล้ว การกระทำใดๆ ของคุณก็
ล้วนจะบรรลุผลทั้งสิ้น การจัดการเรื่องมนุษยสัมพันธ์ก็จะราบรื่นสมปรารถนา ทั้งจะทำการสิ่งใดก็ล้วนประสบผลสำเร็จ
 

Related Books